สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 24-30 ส.ค. 61



ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(2) ด้านการตลาด มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,190 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,182 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,445 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,478 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,090 บาท ราคาลดลงจากตันละ 34,250 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,810 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51
 
 
 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,139 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,921 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,138 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,187 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 266 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,323 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 410 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,398 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 75 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,869 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 104 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,225 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 407 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,300 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 75 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4150
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ข้าวเวียดนามที่ส่งออกไปยังประเทศจีน ต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารและ
การตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจีนเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของเวียดนาม ผ่านช่องทางการส่งออกที่เป็นระบบแทนการส่งออกผ่านการค้าชายแดน
โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2561 ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามประมาณ 3.9 ล้านตัน มูลค่ากว่า
2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และร้อยละ 29.2 ตามลำดับ
ซึ่งจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าข้าวอันดับ 1 ของเวียดนาม ปริมาณข้าวที่เวียดนามส่งออกร้อยละ 26.8 นำเข้าโดยจีน รองลงมาคือ อินโดนีเซียร้อยละ 18.2 และฟิลิปปินส์ร้อยละ 10.4 ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนลดลงร้อยละ 27.7 และร้อยละ 14.6 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงเดือนกรกฎาคม จีนได้ปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 50 และสินค้าข้าวเหนียวเป็นหนึ่งในสินค้าที่ปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้า เป็นเหตุให้ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามไปจีนลดลง โดยในปีนี้เวียดนามส่งออกข้าวไปยัง
จีนแล้วประมาณ 891,000 ตัน ซึ่งข้าวเหนียวเป็นข้าวที่ส่งออกมากที่สุด ในขณะเดียวกันผู้นำเข้าของจีน
มีการคุมเข้มสินค้านำเข้ามากขึ้น ซึ่งมีผลต่อมาตรฐานการกักกันพืชสำหรับผู้ส่งออกเวียดนาม
ตัวแทนจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการนำเข้า – ส่งออกของเวียดนาม กล่าวว่า ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามกำลังเผชิญกับความยากลำบาก เนื่องจากจีนมีการปรับอัตราภาษีนำเข้าข้าวนอกโควตาจากประเทศอาเซียน ในขณะที่ผู้ประกอบการค้าข้าวเวียดนามกล่าวว่า พวกเขาไม่มีตลาดข้าวเหนียวอื่นๆ มารองรับมากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการส่งออกให้กับผู้นำเข้ารายเดิมๆ ทั้งนี้ พวกเขาได้ให้เกษตรกรปรับลดการปลูกข้าวเหนียวลง และปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าวพันธุ์อื่นทดแทน เพื่อลดการพึ่งพาตลาดส่งออกหลักอย่างจีน โดยปัจจุบันข้าวเหนียวกว่าร้อยละ 80 ในประเทศ
ส่งออกไปจีนเป็นหลัก
          ผู้ส่งออกเวียดนามกล่าวว่า จีนและเวียดนามทำการค้าผ่านชายแดนกันมาเป็นเวลานาน โดยมีข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ แต่ปัจจุบันจีนต้องการที่จะควบคุมการค้าผ่านชายแดน หลีกเลี่ยงความสูญเสียทางภาษี และส่งเสริมให้ผู้นำเข้าจีนนำเข้าสินค้าอย่างเป็นระบบมากขึ้น ดังนั้น หากต้องการจะรักษาตลาดจีน ผู้ส่งออกเวียดนามจะต้องผ่านการรับรองด้านความปลอดภัยทางอาหารและการตรวจสอบย้อนกลับ ประกอบกับต้องเพิ่มช่องทางการขายเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดจีน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเวียดนามได้เชิญผู้นำเข้าข้าวจากจีนจำนวน 15 ราย เพื่อทำการเจรจา
ซื้อ-ขายโดยตรง
          ที่มา : Viet Nam News
 
          อินโดนีเซีย
          ปี 2561 หน่วยงาน BULOG (the State Logistics Agency) ได้ประมาณการว่า จะมีการนำเข้าข้าวประมาณ 1.84 ล้านตัน โดยคาดว่าข้าวล็อตสุดท้ายจะส่งมาถึงอินโดนีเซียในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ซึ่งในปีนี้หน่วยงาน BULOG ได้รับอนุญาตให้นำเข้าข้าวได้ประมาณ 2 ล้านตัน โดยกำหนดระยะเวลาในการนำเข้าจะสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้
          รัฐมนตรีกระทรวงการค้า (The Trade Minister) ระบุว่า รัฐบาลอินโดนีเซียได้สั่งการให้ BULOG ดำเนินการ
จำหน่ายข้าวในตลาดเพื่อช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับปกติ ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าที่จะควบคุมราคาข้าวในประเทศ
ให้อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ และไม่เกินราคาเพดานที่กำหนดไว้ที่ 9,450 รูเปียต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 650 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับในพื้นที่เขตเกาะชวา เขต Lampung และเขต South Sumatra ส่วนในเขต Papua และ Maluku กำหนดไว้ที่ 10,250 รูเปียต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 705 ดอลลาร์สหรัฐฯ
          จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (Statistics Indonesia; BPS) รายงานว่า ในช่วงปี 2557 – 2560 อินโดนีเซียนำเข้าข้าวจำนวน 844,164 ตัน 861,601 ตัน 1.2 ล้านตัน และ 305,275 ตัน ตามลำดับ
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          จีน
          สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the National Bureau of Statistics; NBS) รายงานผลผลิตข้าวฤดูการผลิตแรกของปีหรือข้าวต้นฤดู (early rice) หรือข้าวเบาในปีนี้ว่า มีประมาณ 28.59 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 4 ทั้งนี้ ข้าวต้นฤดูจะเพาะปลูกในช่วงฤดูใบไม้ผลิและเก็บเกี่ยวในช่วงต้นฤดูร้อน โดยพื้นที่เพาะปลูกข้าว
ฤดูนี้มีประมาณ 30 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 7 ขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 0.936
ตันต่อไร่
          จากข้อมูลของสำนักงานสถิติ ได้แสดงให้เห็นถึงปริมาณผลผลิตข้าวที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงรุกในช่วงที่มีการปฏิรูปโครงสร้างด้านอุปทานสินค้าเกษตรที่ลงลึกมากขึ้น มีการลดปริมาณน้ำฝน และการหมุนเวียนเพาะปลูกพืช ทั้งนี้ ข้าวต้นฤดูส่วนใหญ่ปลูกในมณฑล Zhejiang, Anhui, Fujian, Jiangxi, Hubei, Hunan, Guangdong, Guangxi และ Hainan
          สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) สามารถระบายข้าวได้ 51,873 ตัน (หรือประมาณร้อยละ 6.06 จากที่นำมาประมูลทั้งหมดประมาณ 0.856 ล้านตัน) โดยราคาเฉลี่ยที่ขายได้อยู่ที่ประมาณ 2,653 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 385.95 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


 
ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.61 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.78
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.02 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 271.20 ดอลลาร์สหรัฐ (8,791 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 270.20 ดอลลาร์สหรัฐ (8,829 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 38.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 343.64 เซนต์ (4,442 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 356.96 เซนต์ (4,653 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.73 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 211.00 บาท



มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64  ร้อยละ 10.69 และร้อยละ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.18 ล้านตัน (ร้อยละ 4.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – กรกฎาคม 2561) ปริมาณ 24.93 ล้านตัน (ร้อยละ 91.52 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.39 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.36 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.27  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.92 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.85 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.20   
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.78 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.03  
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.05 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.27  
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 228 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,390 บาท
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 225 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.33 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 38 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 15,883 บาท
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 35  บาท
 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.137   
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.193 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.081 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.184 ล้านตัน ของเดือนกรกฎาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 5.18 และร้อยละ 4.89 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.24 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 3.22 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.62                            
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 19.95 บาท ลดลงจาก กก.ละ 20.15 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.99    
   
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลงเพื่อกระตุ้นการส่งออก
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,100 ริงกิตต่อตัน (511.57 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เนื่องจากมีความเชื่อมั่นว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น สามารถแข่งขันและกระตุ้นการส่งออกปาล์มน้ำมันดิบได้จากราคาอยู่ที่ระดับ 2,229 ริงกิตต่อตัน (560 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ประกอบกับความต้องการของประเทศผู้นำเข้าเข้าที่สำคัญได้ชะลอตัวลง คือ อินเดีย และตุรกี ซึ่งการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบของอินเดียปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 6 ปี หลังจากที่ได้ปรับภาษีนำเข้าเพื่อยกระดับราคาน้ำมันในประเทศและสนับสนุนเกษตรกรในท้องถิ่น สำหรับราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวลดลงและภาคอุตสาหกรรมได้ลดการผลิตลงเช่นกัน ส่งผลให้ระดับสต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อยู่ที่ระดับ 20.5 ล้านตัน และคาดการณ์ว่าผลผลิตน้ำมันปาล์มจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,184.68 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.64 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,204.08 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.88  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 548.83 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (18.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 545.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (18.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.70      
 
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล 
 
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน                       
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
        ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์กและน้ำตาลทรายขาวตลาดลอนดอน
 
 


ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 827.92 เซนต์ (9.99 บาท/กก.) ลดลงจาก บุชเชลละ 867.52 เซนต์ (10.55 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.56
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 304.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 323.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.86
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.20 เซนต์ (20.41 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.32 เซนต์ (20.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.42


 


ยางพารา
 
 

 
สับปะรด
 
 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ                                                                                                                                                                                                                                                                                     
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 17.06 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 831.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 824.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 738.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 732.20 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 583.40 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 578.40 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 397.40 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 394.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.87 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 825.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.76 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 818.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.74 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.56 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.41
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 


ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 82.91 เซนต์
(กิโลกรัมละ 60.02 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 82.72 เซนต์ (กิโลกรัมละ 60.38 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.36 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,698 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,666 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 1.32
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,363 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,378 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 1.09
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,175 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,166 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.76


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีมากขึ้นเพราะเข้าสู่ช่วงเทศกาลสารทจีน ส่งผลให้ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างคึกคัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  60.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.59  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.76 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.10 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 56.58 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 62.80 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.77 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 65 บาท )  สูงขึ้นจากตัวละ 1,700 บาท  (บวกลบ 62 บาท)  ของสัปดาห์ที่   ผ่านมา  ร้อยละ  5.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลสารทจีน ทำให้ความต้องการบริโภคไก่เนื้อมีมากขึ้นเล็กน้อยและสอดคล้องกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.09 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.47 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.32 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่ไก่
​สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สถานการณ์ไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  281 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 289 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 279 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้   ตัวละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 325 บาท  ลดลงจากร้อยฟองละ 324 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 82.78 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 93.58 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.54 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท
 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.24 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
(ระหว่างวันที่ 24 – 30 สิงหาคม  2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.30 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 37.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.95 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.41 บาท
ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 155.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.78 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.00 บาท
ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 152.5 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.50 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.57 บาท
ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.00 บาท
ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 179.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 19.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.47 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 24 – 30 ส.ค. 2561)
ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา